Interview

บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ท่าน ในหัวข้อ เครื่องบินโดยสาร



พลอากาศโท ศุภกฤต อริยะปรีชา

เรา : สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาสัมภาษณ์กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องบินนะคะ ก็คือ พลอากาศโท ศุภกฤต อริยะปรีชา นะคะ เป็นอาจารย์ที่สอนในวิชาการบินของสถาบันการบินค่ะ ขออนุญาตสัมภาษณ์เลยนะคะ เครื่องบินผู้โดยสารที่ขณะนี้เป็นที่นิยมทั่วโลกนี่มียี่ห้ออะไรบ้างคะ
อาจารย์ : เครื่องบินที่เราใช้เป็นเครื่องบินโดยสารทั่วโลกนั้น ในขณะนี้ก็มี 2 บริษัทใหญ่ด้วยกัน อันแรกคือ บริษัท Boeing ซึ่งผลิตในสหรัฐอเมริกา นะครับ อีกแบบหนึ่งก็คือ เครื่องบินของ Airbus ซึ่งผลิตอยู่ในกลุ่มของยุโรป มีหลายประเทศร่วมกันสร้าง เพราะฉะนั้นในขณะนี้ทั่วโลกก็จะมีเครื่องบิน 2 แบบ ที่เป็นเครื่องบินโดยสารที่นิยม ก็คือ Boeing กับ Airbus
เรา : แล้วเครื่องบินที่เหมาะสมที่จะใช้ในประเทศไทยเนี่ยเป็นยี่ห้อไหนเหรอคะ
อาจารย์ : เครื่องบินที่เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก ก็แสดงว่าเครื่องบินโดยสารทั้ง 2 บริษัทนี้ สามารถที่จะตอบสนองต่อภารกิจของการบินได้ การบินนี่จะมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน อันแรกก็คือการบินระหว่างทวีป ซึ่งเราเรียกการบินระยะไกล เราเรียกว่า Long Length เพราะฉะนั้นจะเป็นเครื่องบินขนาดใหญ่ อีกอันหนึ่งก็มีเครื่องบินที่ใช้สำหรับของระยะกลาง เรียกว่า Medium Length ระยะไกลบินแบบไหน ระหว่างทวีป เช่น ทวีปเอเชีย ไปยัง สหรัฐอเมริกา จากทวีปเอเชีย ไปด้านยุโรป ใช้เวลาบิน 10 กว่าชม.ขึ้นไป อย่างที่เราเรียกว่าการบินระยะไกล ซึ่งเป็น Long Length ซึ่งเปนเครื่องบินขนาดใหญ่ ได้แก่อะไรบ้าง เช่น Airbus 380, Boeing 747 ซึ่งแต่ก่อนเรียกว่า Jumbo เป็นต้น นี่เป็น Long Length ถูกไหมครับ ทีนี้เรามาดูในเรื่องของ Medium Length ระยะกลางเนี่ยก็ประมาณ 10 ชม.ขึ้นไป 10 – 12 ชม. เป็น Medium Length การบิน Medium Length ที่ใช้อยู่ก็จะมี Boeing 777, Boeing 787 นะครับ ทางด้านของ Airbus ขณะนี้ก็จะมี Airbus 330, Airbus 350 ซึ่งเป็น Medium Length นะครับ บรรทุกผู้โดยสารตั้งแต่ 200 – 300 คน ส่วนตัวของ Long Length จะบรรทุกผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 400 คน 300 – 400 คน เพราะว่าการบินระยะไกลนั้นต้องใช้น้ำมันมาก เพราะฉะนั้นจำนวนผู้โดยสารกับในเรื่องของค่าใช้จ่ายนั้นจะต้องสัมพันธ์กัน พอที่จะทำกำไรได้ อีกประเภทหนึ่งก็คือเป็น Short length ก็คือเครื่องบินสาย Low cost ในประเทศไทยก็จะมีเครื่องบิน  Low cost เป็นเครื่องบินขนาดเล็ก มีประมาณ 100 – 160 – 180 ที่นั่ง ซึ่งเป็นในตัวของ Short Length ได้แก่เครื่องบินอะไรบ้าง เช่น Boeing 737, Airbus 320 เพราะฉะนั้นในตัวของ 2 บริษัทเนี่ย ก็จะมีเครื่องบินอยู่หลายแบบด้วยกัน แต่แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ระยะไกล Long Length ระยะกลาง Medium Length และระยะใกล้ Short Length ก็จะมีเครื่องบินแต่ละกลุ่มนั้นเป็นแบบๆ เพราะฉะนั้นในกลุ่มของ Boeing ก็จะมี 747 รองลงมาก็จะเป็น 777, 787 และต่ำลงมาก็จะเป็น 737 ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไป ว่าแต่ละรุ่นแล้วก็จะมี Series ของมัน ว่าจะบินระยะไกลนะ ระยะกลางนะ ขึ้นอยู่กับการทำประโยชน์ของแต่ละแบบว่าจะเติมน้ำมันซักเท่าไหร่ ข้างในนี้จะมีห้องพักของผู้ที่ทำงานในการบินเท่าไหร่ ในส่วนของ Airbus ก็จะเป็น 380, 330, 350 ที่ออกมาใหม่ แล้วก็ 320 แต่ในรายละเอียดปลีกย่อยในรุ่นย่อยๆ ยังมีอีก แต่ก็จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม นั่นคือเครื่องบินโดยสารที่มีอยู่ในโลกนี้ นี่เราพูดถึงกลุ่มเฉพาะของสหรัฐอเมริกาและทางด้านยุโรป แต่ที่จริงแล้วยังมีเครื่องบินผู้โดยสารที่ผลิตอยู่ของรัฐเซีย จีน บราซิล ยังมีอีกหลายประเทศด้วยกัน ซึ่งขณะนี้ก็ใช้อยู่ทั่วโลก บราซิลก็ผลิตให้อเมริกาก็มี แต่ว่าถ้าพูดถึงจำนวนเครื่องบินที่มากที่สุดในโลกในขณะนี้ก็มีอยุ่แค่ 2 ค่ายเท่านั้นเอง
เรา : แล้วแต่ละสายการบิน มีเกณฑ์ในการเลือกเครื่องบินอย่างไรคะ
อาจารย์ : เรายกตัวอย่างในประทศไทยละกันนะ ในประเทศไทยเนี่ยเรามีสายการบินที่เรียกว่า Premium ก็คือของการบินไทย กับอีกอย่างหนึ่งก็คือสายการบิน Low cost
เรา : ก็คือพวกนกแอร์ อะไรแบบนี้ปะคะ
อาจารย์ : ครับ สายการบิน Low cost จะประกอบไปด้วย Nok Air, Thai Air Asia, Thai Lion Air อย่างนี้เป็นต้น นะครับ อันนี้ก็คือสายการบินที่เป็น Premium ก็คือ การบินไทย คำถามที่ว่าสายการบินเลือกเครื่องบินเหล่านี้อย่างไร ผมจะพูดถึงในตัวของ Low cost เวลาเลือกเครื่องบินคือ Short Lengthเขาก็เลือกเครื่องบินระยะใกล้ คือ Boeing 737 หรือ Airbus 320
เรา : เพราะว่ามีขนาดเล็ก และบินไม่ไกลมาก
อาจารย์ : ไม่ต้องการบินไกลเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบินและก็ประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการซ่อมบำรุงนะครับ แล้วก็ใช้เวลาบินไม่นานนัก 1 ชม. ถึง 3 – 4 ชม. เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นก็ใช้เครื่องบินรุ่นเล็ก ขนาดเล็ก ทีนี้ถามว่าเครื่องบิน 2 อย่าง Long Length หรือว่า Medium Length จริงๆ Short Length ก็ได้เพราะมี Thai Smile เราก็ต้องใช้ Short Length เช่น Airbus 320 เพราะฉะนั้นการบินไทย ถ้าจะเลือกเครื่องบิน Long Length ก็จะมี Airbus 380 หรือ Boeing 747 นะครับ Medium Length ก็จะมีทั้ง Boeing 777 และ Boeing 787 ครับ ขณะนี้การบินไทยก็จะมีตัวของ Airbus 330 และกำลังสั่งซื้อคือ Airbus 350 ซึ่งกำลังเดินทางเข้ามาแล้ว เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่าการเลือก เลือกอย่างไร ที่ต้องเลือกทั้ง 2 ค่ายก็เพราะว่าบางครั้งนั้น เราบินไปในประเทศซึ่งไปทางด้านยุโรปและไปทางด้านของสหรัฐอเมริกาและเช่นเดียวกันนะครับ บางทีการเสนอขายนั้น เขาจะมีข้อเสนอที่แต่ละห้วงระยะเวลานั้นมีการให้ โปรโมชั่นแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นคนซื้อก็จะเลือกซื้อทั้ง 2 แบบ เพียงแต่ทั้ง 2 แบบนั้นจะมีอย่างไหนมากน้อยกว่ากันเท่านั้นเอง ในทางด้านยุโรปเองก็จะเลือกทางด้าน Airbus มากกว่า แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็จะเลือก Boeing ประเทศที่อยู่รอบนอกของทั้ง 2 ทวีปนี้ก็มีทั้ง Airbus และ Boeing เพียงแต่ว่าจำนวนจะมากน้อยกว่ากันเท่านั้นเอง แต่จะมีทั้ง 2 แบบครับ
เรา : ความรู้เยอะมากเลยค่ะ ก็ขอบคุณอาจารย์นะคะ ที่ให้สัมภาษณ์แล้วก็ให้ความรู้มากมายขนาดนี้ ขอบคุณค่า

บทสังเกตการณ์
เครื่องบินโดยสารที่นิยมขณะนี้มีอยู่ 2 บริษัทด้วยกันคือ Boeing จากสหรัฐอเมริกา และ Airbus จากยุโรป โดยเครื่องบินจะแบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ Long Length, Medium Length และ Short Length ขนาดของตัวเครื่องก็จะขึ้นอยู่กับระยะทางในการบิน หากบินไกลก็จะขนาดใหญ่ และลดขนาดลงมาเรื่อยๆตามระยะทางในการบิน ในการเลือกเครื่องบินของแต่ละสายการบินก็จะขึ้นอยู่กับเส้นทางที่บินและสัญญาที่ทำไว้กับน่านฟ้าประเทศนั้นๆ






พี่แป้ง เจ้าของเพจ ต้องเป็นนางฟ้าในได้ By Crew Pang

เรา : วันนี้เราก็มาสัมภาษณ์พี่แป้งต่อจากคลิปที่สัมภาษณ์อาจารย์ที่เป็นนักบินไปแล้วนะคะ พี่แป้งสวัสดีค่ะ
พี่แป้ง : สวัสดีค่ะ
เรา : พี่แป้งเป็นเจ้าของเพจ ต้องเป็นนางฟ้าให้ได้ By Crew Pang นะคะ พี่แป้งเนี่ย ทำอาชีพแอร์โฮสเตส แต่ตอนนี้คือออกมาแล้วใช่ไหมคะ
พี่แป้ง : ใช่ค่ะ
เรา : คำถามก็จะแบบ เครื่องบินผู้โดยสารนะคะ คำถามแรกก็คือ มาตรฐานของเครื่องบินผู้โดยสารก่อนขึ้นบินเนี่ย เราต้องเช็คอะไรบ้างคะ
พี่แป้ง : จริงๆก็แบ่งออกเป็น 2 ส่วนอะค่ะ ในส่วนที่ 1 ก็คือในส่วนของตัวนักบิน นักบินเนี่ยเขาก็จะเช็คเครื่องดูว่าพร้อมใช้งานหรือเปล่า โดยที่ใช้ Maintenance ก็คือเป็นช่างซ่อมบำรุง เป็นคนซัพพอร์ต ส่วนลูกเรือเราทำหน้าที่อะไรบ้าง ลูกเรือเนี่ยเราก็จะทำหน้าที่เช็คภายในว่ามันพร้อมใช้งานหรือเปล่า เช่นดูว่า Smoke detector ตัวดักจับควันใช้งานได้ไหม เวลาที่เกิดไฟไหม้เรารู้ไหม หรือว่าเป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับการหลบหนี ว่ามันสามารถพร้อมใช้งานได้ไหม แล้วก็ที่จะทำให้ผู้โดยสารสามารถออกจากเครื่องได้เร็วที่สุด
เรา : นั่นคือส่วนของนักบิน
พี่แป้ง : ส่วนของนักบินคือดูข้างนอก ส่วนของลูกเรือคือดูภายใน
เรา : แล้วส่วนของลูกเรือนี่ต้องดูอะไรบ้างอะคะ
พี่แป้ง : ดู Smoke detector ในห้องน้ำ ดู Oxygen mask ดู Smoke hood  ก็คือตัวเวลาที่ใส่เข้าไปแล้วให้ Oxygen มันออกมา อะไรอย่างเงี้ยะอะค่ะ ดูหลายอย่างเลย บนเครื่องดู Life vest อุปกรณ์เขาจะมี Check list ให้เรา ไม่ต่ำกว่า 10 ชิ้น ต่อคน
เรา : คือแอร์โฮสเตสนี่ต้องทำหน้าที่เช็คทุกอย่าง
พี่แป้ง : ใช่
เรา : แล้วก่อนบินไรเงี้ยะอะค่ะ คือแอร์โฮสเตสต้องเทรนไหมคะว่าหากเกิดอุบัติเหตุกับเครื่องบินลำนี้ รุ่นนี้ ยี่ห้อนี้ ต้องเอาตัวรอดยังไง
พี่แป้ง : เราต้องเทรนทุกปี มีการสอบทุกปี สอบเนี่ย ก็ถ้าไม่สามารถที่จะกระโดดสไลด์ หรือว่ากางเรือได้เนี่ย ก็ถือว่าไม่ผ่าน การสอบนี่ค่อนข้างเข้มข้นเพราะมันถือว่าเป็นหัวใจของวงการแอร์ไลน์เลย ของธุรกิจการบิน
เรา : แล้วเครื่องบินแต่ละรุ่นเนี่ย แต่ละลำเนี่ยค่ะ พวกประตู Emergency นี่คือคนละตำแหน่งเลยหรือเปล่าคะ
พี่แป้ง : คล้ายๆกัน ฟังชั่นเรื่องความปลอดภัยไม่ต่างกันมาก
เรา : การเทรนจะคล้ายๆกัน
พี่แป้ง : คล้ายๆกันแต่ว่าก็จะมีลูกเล่น เช่น บางเครื่องไม่มีเรือตรงปีก อะไรเงี้ยะอะค่ะ คือบางเครื่องตรงปีกมีเรือ บางเครื่องข้างหน้ารับคนได้น้อยกว่าข้างหลังอะไรอย่างเงี้ยะ มันจะเป็นเล็กๆน้อยๆที่เราต้องจำ
เรา : แล้วอย่างงี้ถ้าเกิดแบบว่าผู้โดยสารจะขึ้นเครื่องบิน เราควรเตรียมตัวยังไง ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจริงๆ
พี่แป้ง : คืออย่างแรกเนี่ยให้ดูที่ Safety instruction life vest มันจะเป็นกระดาษที่อยู่ข้างหน้าเก้าอี้ เราจะหยิบขึ้นมาดูก่อนว่าเครื่องเนี้ยะมีทางออกฉุกเฉินกี่ทาง ในเวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉินเราต้องทำท่าไหน เพื่อที่จะเซฟหัว หรือดูความปลอดภัยอย่างอื่นเช่น Life vest อยู่ที่ไหน Oxygen mask dropลงมาจากตรงไหน เขาจะบอกไว้หมดแหละ รวมไปถึงใน VDO ด้วย VDOความปลอดภัย อันเนี้ยะ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ เพราะว่าช่วงเวลาที่สำคัญและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติแหตุมากที่สุดก็คือ 3 นาที Take off และก็ 8 นาที Landing
เรา : แล้วอย่างโดยส่วนตัวพี่แป้งเคยเจอเหตุฉุกเฉินบ้างไหมคะ
พี่แป้ง : ก็อาจจะมีเช่น ผู้โดยสาร แอบสูบบุหรี่บนเครื่อง ประมาณเนี้ยะอะค่ะ แล้วคือเป็นสิ่งที่เราต้องมี Awareness ก็คือมีสติ แล้วก็ช่างสังเกตให้มากที่สุด ดูว่ามันมีเหตุการณ์อะไรที่มีความผิดปกติบนเครื่องหรือเปล่า จะได้ Reaction ทันที
เรา : ตอนนั้นผู้โดยสารแอบไปสูบบุหรี่ที่ไหนคะ ห้องน้ำเหรอคะ
พี่แป้ง : ห้องน้ำค่ะ ตอนนั้นคือเครื่องเพิ่ง Take off ไป พี่แป้งก็กำลังเตรียม Serviceอยู่ ผู้โดยสารคนนี้ก็เปิดประตูออกมา คือถ้าใครสูบบุหรี่เราก็จะได้กลิ่นถูกไหมคะ เปิดประตูออกมา ควันก็ออกมาจากห้องน้ำ พี่ก็รีบเข้าไปข้างในห้องน้ำ พี่ก็รีบเข้าไปดูเลยว่ามันมีขี้บุหรี่อะไรที่มันจะเกิดเป็นปะกายไฟหรือเปล่า เราก็ต้องใช้น้ำเททันที คือสิ่งที่แบบเราต้อง reaction  มันเหมือนคือแบบอยู่ในสมองสามัญสำนึกเราแล้วว่าเราต้องทำอะไรบ้าง1234 เวลาที่เหลือค่อยไปจัดการกับคน คือเราดูความปลอดภัย possibility ของที่ใช้บนเครื่องมันมีอะไรที่เจ๊งหรือเปล่า เกิดประกายไฟไหม เพราะมันคือความปลอดภัยทั้งหมด
เรา : แล้วอุบัติเหตุที่มันจะเกิดบนเครื่องเนี่ยมันมีอะไรบ้างอะคะ
พี่แป้ง : อุบัติเหตุบนเครื่องที่เราเจอกันบ่อยๆก็คือการ Torching ก็คือการสันดาปของน้ำมันที่เผาไม่หมด เผาไหม้ไม่หมด ก็คือการ Landing ถ้ามันมีน้ำมันเหลือเยอะเกินไป เขาจะต้องไป Drain ทิ้งก่อน ทั้งตามมหาสมุทรหรืออะไรก็แล้วแต่ ปล่อยทิ้ง แต่ว่ามันจะเป็นการปล่อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้วนะคะ หรือเขาก็จะทำมีระบบของเขาแหละค่ะ เพื่อไม่ให้น้ำมันมันเหลือเยอะเกินไป เนื่องจากว่า เวลาที่มัน Landing แบบรุนแรงอะค่ะ มันอาจจะเกิดประกายไฟ ให้ไฟลุกไหม้ที่ปีกได้ เพราะน้ำมันจะอยู่ตรงปีก
เรา : แล้วพวก Turbulence นี่สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ไหมคะ
พี่แป้ง : Turbulence จะทำให้เกิดอุบัติเหตุภายใน เช่น เดินๆอยู่แล้วหัวไปโขกกับเพดาน หรือเข็นๆอยู่ แต่ส่วนใหญ่เนี่ยเราจะได้รับข้อมูลมาก่อนว่าตรงไหนจะเกิด Turbulence บ้าง เรามีพยากรอากาศ ยกเว้นเขาเรียก Clear air turbulence ก็คือไม่มีข้อมูลล่วงหน้าเลย อยู่ดีๆเครื่องก็ไปตกหลุมอากาศโดยที่ ไม่มีแม้แต่เมฆ ไม่มีอะไรเลย ในแค่แรงดันอากาศที่ไม่เข้ากันเท่านั้นเอง ซึ่ง Clear air turbulence เนี่ย เป็นสิ่งที่พยากรไม่ได้ เดาไม่ได้ ก็ต้องระมัดระวัง แอร์โฮสเตสถึงบอกว่าต้องให้ผู้โดยสารเนี่ยต้องคาดเข็มขัดตลอดการเดินทาง
เรา : แล้วนอกจากนี้มีอะไรเล็กๆน้อยๆที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ไหมคะ
พี่แป้ง : เช่นผู้โดยสารพกไฟแช็กมา แล้วนั่งๆอยู่ แล้วไปสีกับเบาะ ไฟแช็กก็เกิดประกายไฟบนเบาะ อะไรอย่างเงี้ยะ มันเกิดอุบัติเหตุได้ เพราะฉะนั้นเวลาขึ้นเครื่องเขาถึงต้อง Security Check ว่าวันนี้มีวัตถุไวไฟอะไรใหม่ๆหรือเปล่า อะไรอย่างเงี้ยะอะค่ะ เล็กๆน้อยๆค่ะ ที่ไม่ควรมองข้าม
เรา : ก็หมดคำถามแล้วค่ะ วันนี้ขอบคุณพี่แป้งมากนะคะที่สละเวลามาให้สำภาษณ์
พี่แป้ง : ค่า ยินดีค่า สวัสดีค่ะ

บทสังเกตการณ์

ในการดูแลเครื่องบินจะถูกแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายนักบินที่จะดูแลภายนอกของเครื่องและการทำงานของเครื่องบิน อีกฝ่ายคือส่วนของลูกเรือ ซึ่งจะดูแลภายในเครื่องบิน ดูแลความปลอดภัยของอุปกรณ์การช่วยชีวิตยามเกิดเหตุฉุกเฉินและบริการผู้โดยสาร ก่อนจะขึ้นบินได้นั้นต้องตรวจสอบหลายขั้นตอนและมีมาตรการที่เข้มงวดเนื่องจากความรับผิดชอบต่อชีวิตของผู้โดยสารทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของนักบินและลูกเรือ ความปลอดภัยจึงมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะอุบัติเหตุทางอากาศเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดและถือเป็นอุบิตเหตุที่ร้ายแรงที่สุดอย่างหนึ่งในการเดินทาง




บทความเกี่ยวกับบริษัท Airbus และ Boeing



บริษัทแอร์บัส (Airbus S.A.S.) 
เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินในเมืองตูลูส (Toulouse)ประเทศฝรั่งเศส แอร์บัสเกิดจากการรวมตัวของผู้ผลิตเครื่องบินและยุทโธปกรณ์รายใหญ่ของยุโรป 2 ราย คือEuropean Aeronautic Defence and Space Company (EADS) (80%) และ BAE Systems(British Aerospace) (20%) แอร์บัสมีพนักงานกว่า 4 หมื่นคน และมีโรงงานหลายแห่งในทวีปยุโรป

บริษัทแอร์บัสในยุโรป มองว่าในอนาคตการเดินทางจะถูกจำกัดด้วยปัจจัยการจราจรทางอากาศ อันได้แก่ช่วงเวลาการใช้สนามบิน เส้นทางบิน ทำให้รองรับเที่ยวบินได้ในจำนวนจำกัด ดังนั้นในแต่ละเที่ยวบินจึงต้องสามารถบรรทุกผู้โดยสารคราวละมากๆ และผู้โดยสารมักเดินทางจากเมืองใหญ่ไปยังเมืองใหญ่ (Hub To Hub)เมืองใหญ่ไปยังเมืองใหญ่ (Hub To Hub)ดังนั้นแอร์บัสจึงสร้างเครื่องบินรุ่นใหม่ที่บรรจุคนได้มาก

โบอิ้ง (The Boeing Company)
เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา โบอิงนับเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่มีรายได้มากที่สุดในโลกและเป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์อันดับสองของโลก
บริษัทโบอิ้งของสหรัฐฯกลับมองว่า ผู้โดยสารไม่จำเป็นที่จะต้องเดินทางจากเมืองใหญ่ไปยังเมืองใหญ่ โบอิ้งคาดการณ์ว่าผู้โดยสารจะมีเป้าหมายการเดินทางเฉพาะจุด (Point to Point) จำนวนผู้โดยสารแต่ละจุดจึงไม่มากนัก แต่คุณค่าของเวลามีค่ามากขึ้น ดังนั้นการเดินทางจะต้องใช้เวลาสั้นลง โบอิ้งจึงคิดสร้างเครื่องบินที่บินได้เร็วขึ้นและไกลขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องจำนวนที่นั่งมากนัก
จุดเด่นที่ต่างกันระหว่างแอร์บัสกับโบอิ้ง
เป็นเวลานานมาแล้วที่เครื่องบินจากอเมริกามีชื่อเสียงด้านสมรรถนะและการซ่อมบำรุง คือ มีความเร็วสูงกว่าและซ่อมง่ายกว่า แต่เครื่องจากแอร์บัสมีความเร็วต่ำกว่า อัตราการไต่ต่ำกว่า จึงประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า แต่มีการซ่อมบำรุงซับซ้อนกว่า ซึ่งทั้งหมดเป็นความเชื่อดั้งเดิม การก้าวผ่านเข้าไปในโลกการบินยุคดิจิตอล ความเชื่อที่เคยอาจต้องเปลี่ยนไป
ในโลกนี้มี 2 ค่ายยักษ์ที่ผลิตเครื่องบิน คือ Airbus เป็นการรวมกลุ่มกับของประเทศในทวีปยุโรป และBoeing ของอเมริกาค่ะ วิธีที่เราจะแยกเครื่องบินของสองค่ายนี้ออกจากกันง่ายที่สุด คือดูหน้าต่างที่ห้องนักบินนั่นเองค่ะ
มาดูของค่าย Airbus กันก่อน วิธีสังเกตุง่ายๆ ว่าเป็นเครื่องของ Airbus คือบริเวณหน้าต่างบานที่ใกล้กับประตูหน้า จะตัดเฉียงบริเวณริมด้านบนค่ะ




จากภาพหน้าต่างบานที่ใกล้กับประตู จะตัดเฉียงบริเวณริมด้านบนของหัวเครื่องบินค่ะ
มาดูของค่าย Boeing กันบ้างจะแบ่งหน้าต่างของเครื่องบินโบอิ้งออกเป็น 4 Type ค่ะ ได้แก่ Type A Type B Type C ,Type D ตามลำดับตามภาพข้างล่างนี้ค่ะ





เอาละ ถ้าเจอหน้าต่างแบบ Type A เครื่องบินที่ใช้หน้าต่างในลักษณะนี้ได้แก่ โบอิ้ง 757 โบอิ้ง 767 และ โบอิ้ง 777 ค่ะ ( เด๋วค่อยแยก 3 ตัวนี้ออกจากกัน)
ถ้าเจอแบบ Type B เครื่องบินที่ใช้หน้าต่างลักษณะนี้ได้แก่ โบอิ้ง 707 โบอิ้ง 727 โบอิ้ง 737 ค่ะ
ถ้าเจอแบบ Type C ฟันธงเป็น โบอิ้ง 717 ได้เลยค่ะ เพราะเป็นแบบเดียวที่ใช้หน้าต่างแบบนี้
ถ้าเจอแบบ Type D ฟังธงเป็น โบอิ้ง 747 ได้เลยค่ะ เพราะเป็นแบบเดียวเช่นกันที่ใช้หน้าต่างแบบนี้ สำหรับโบอิ้ง747 เป็นประเภทเดียวของโบอิ้งที่ส่วนหัวจะมีสองชั้นค่ะ
มาดูวิธีสังเกตเครื่องบิน Airbus อีกวิธีนึงค่ะ เราจะทราบว่าเป็นแอร์บัส เราใช้วิธีสังเกตเสาอากาศบนหลังคาเครื่องบินค่ะ






จากภาพ เราจะสังเกตเห็นเสาอากาศบนหลังคาเครื่องบินใช่ไหมค่ะ หากเป็นของแอร์บัส ตำแหน่งของเสาอากาศจะตั้งค่อนมาด้านหน้าของเครื่อง บริเวณหลังห้องนักบิน สังเกตเห็นไหมคะ


วิธีสังเกตเครื่องบินโบอิ้งจากเสาร์อากาศค่ะ






ส่วนภาพด้านบนนนี้ เป็นเครื่องบินของโบอิ้ง ค่ะ สังเกตเสาอากาศนะค่ะ ตำแหน่งจะตั้งมาทางด้านส่วนกลางของลำตัวเครื่องบิน ซึ่งจะแตกต่างกับแอร์บัสซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าค่ะ ดังนั้น หากตำแหน่งเสาอากาศอยู่ด้านหน้า ก็เป็นแอร์บัส หากตั้งอยู่ด้านกลางๆ ค่อนมาทางหลัง ก็ โบอิ้ง ค่ะ

การจับคู่เปรียบเทียบระหว่าง A380 VS B787




รูปทรงภายนอก



A380 มาพร้อมกับความใหญ่โต แอร์บัสออกแบบให้ A380 สามารถใช้พื้นผิวสนามบิน ได้ร่วมกับเครื่องบินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยมิต้องปรับปรุงเพิ่มเติมแต่อย่างใด ยกเว้นท่าอากาศยานทุกแห่งต้องปรับปรุงท่าเทียบ (Air Bridge) เพื่อให้เพียงพอและสะดวกต่อการขึ้นลงของผู้โดยสาร จึงทำให้ A380 บินไปยังสนามบินต่างๆได้อย่างจำกัดในปัจจุบัน ปัญหาที่น่าจับตามองคือการนำผู้โดยสารขึ้น-ลงจากเครื่อง(Boarding) ด้วยจำนวนผู้โดยสารกว่า 500 คน จึงเป็นความท้าทายความร่วมมือของสายการบินและการท่าอากาศยานแต่ละแห่ง ที่จะต้องควบคุมความทุลักทุเลในระหว่างการ Boarding ที่มักเกิดขึ้นเสมอ


B-787 รูปทรงภายนอกของ B787 ดูไม่แตกต่างจากเครื่องบินในยุคปัจจุบันมากนัก รูปทรงของปีกโค้งเรียว ส่วนปลายปีกงอนขึ้น ดูปราดเปรียว Wingtip ถูกทำให้กลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของปีก ขนาดลำตัวของเครื่องบินไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ท่าอากาศยานไม่จำเป็นต้องปรับปรุงสนามบินและท่าเทียบแต่อย่างใด ซึ่งส่งผลให้สามารถบินไปยังสนามบินต่างๆได้มากกว่าคู่แข่ง โดยไม่มีข้อจำกัดทางภาคพื้นและในอากาศแต่อย่างใด
ห้องโดยสาร



A380 มีความกว้างขวางภายในห้องโดยสารอย่างล้นเหลือ ทำให้เป็นข้อได้เปรียบในการเดินทางไกล ลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของสายการบินแต่ละราย มีอิสระมากขึ้นในการที่จะออกแบบตกแต่งภายในได้อย่างเต็มที่A380 มีห้องโถงกว้างโล่ง ซึ่งอาจใช้เป็นห้องตัดผม ห้องนวด มุมอ่านหนังสือ บาร์ดื่ม ได้เช่นเดียวกับเรือสำราญ จากผลการทดสอบบินที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านห้องโดยสารเครื่องบินให้ความเห็นว่า A380 เป็นเครื่องบินที่มีห้องโดยสารที่เงียบมาก มีเสียงรบกวนขณะเดินทางน้อยมาก


B787 มีห้องโดยสารที่เล็กกว่า แต่มีจุดเด่นที่ลำตัวสร้างด้วยวัสดุคอมโพสิตส์ทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าและไม่ผุกร่อน ทำให้สามารถปรับความดันบรรยากาศต่ำลงมาได้ใกล้เคียงระดับน้ำทะเลมากกว่า และยังเพิ่มความชื้นของอากาศในห้องโดยสารได้สูงกว่า น่าจะทำให้ผู้โดยสารได้รับความผลกระทบจากการอ่อนล้าในระหว่างเดินทางน้อยกว่า

นี่เป็นการเปรียบเทียบแค่บางส่วนระหว่างเครื่องบิน Airbus และ Boeing ค่ะ
ที่มา : http://airbus-vs-boeing.blogspot.com/

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น