วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ร้หรือไม่ บนท้องฟ้ามีเครื่องบินอยู่กี่ลำ


" อยากรู้หรือไม่...บนท้องฟ้ามีเครื่องบินอยู่กี่ลำ "
สำหรับท่านที่พกพาอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เนต ได้เช่น Notebook , Ipad,Andorid  และอื่น ติดตัวอยู่เสมอในการเดินทางโดยเครื่องบิน  แน่นอนทุกสนามบินจะมีระบบ Wifi ให้ใช้ฟรีอยู่แล้ว


วันนี้จะมาแนะนำให้ทุกท่านดูเครื่องบิน ขณะที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้า สู่สนามบินต่างๆ ทั่วโลก  และที่กำลังบินอยู่บนฟากฟ้าเมืองไทยอีกด้วย  ผ่านเว็บไซต์แห่งหนึ่ง 



ลักษณะการแสดงผลจะเป็นรูปเครื่องบิน กำลังเคลื่อนที่อยู่บนแผนที่  ณ. เวลานั้น จริงๆ  เหมือนเราดูบนจอเรดาห์
ระบบสามารถบอกได้ถึง ขณะนี้บนท้องฟ้ามีเครื่องบินกำลังบินอยู่กี่ลำ  
เมื่อคลิกบนรูปเครื่องบิน ระบบจะแสดง ว่เป็นเครื่องขิงสายการบินไหน มีความเร็วในการบินเท่าไร  และอื่นๆ
เข้าไปดูได้ที่    http://www.flightradar24.com
แล้วคุณจะรู้ว่ามีเครื่องบินมากแค่ไหนบนท้องฟ้า
หวังว่าบทความนี้ จะสามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ทุกท่าน ขณะที่รอขึ้นเครื่องนะคะ
มีเวอร์ชั่นสำหรับดูบน Ipad  Iphone  อีกด้วย



10ข้อควรรู้เกี่ยวกับ A350 XWB การบินไทย




  1. วิเชียรบุรีคือชื่อแอร์บัส A350 ลำแรกของการบินไทย กำหนดส่งมอบให้การบินไทยในเดือนสิงหาคม 2559 โดยการบินไทยได้สั่งซื้อจำนวน 4 ลำ และเช่าระยะยาว 8 ลำ คาดว่าจะนำมาประจำการแทน เครื่องบิน รุ่น Boeing 777 ที่มีอายุมากแล้ว
  2. เครื่องบิน Airbus A350 ถูกผลิตออกมาเพื่อต่อกรกับเครื่องบินของ Boeing รุ่น 777 แต่เนื่องจาก ช่วงเวลาของการเปิดตัวไล่เลี่ยกับ Boeing 787 จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า A350XWB เป็นคู่แข่งกับ Boeing787
  3. ตัวอักษร XWB ย่อมาจากคำว่า Extra Wide Body เป็นชื่อเล่นต่อท้ายเพื่อแสดง ถึงความกว้าง ของห้องโดยสาร
  4. โครงสร้างของเครื่องบินทำมาจากวัสดุผสมชั้นสูง (Advance materials combining composite) ถึง 70% และ อลูมิเนียมอัลลอยแบบใหม่ ซึ่งวัสดุผสมนี้เป็นวัสดุที่ทนทานต่อการสึกกร่อน ด้วยการใช้ วัสดุที่แข็งแรงนี้ทำให้ A350XWB มีขนาดหน้าต่างที่ใหญ่ขึ้น และสามารถปรับ ความกดอากาศภายใน ห้องโดยสารให้อยู่ในระดับเทียบเท่ากับ อยู่ที่ความสูง 6,000 ฟุต
  5. เครื่องบิน A350 นี้สามารถบินได้ด้วยเครื่องยนต์เดียวได้นานถึง 370 นาที ซึ่งมากที่สุดในบรรดา เครื่องบินพาณิชย์ และยังเป็นเครื่องบินแบบแรกของโลกที่ได้รับมาตรฐาน ETOPS นานเกินกว่า 180 นาที
  6. เครื่องบิน A350XWB ลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงลดลงถึงร้อยละ 25 % ส่งผลให้เครื่องบินในตระกูล A350 เป็นเครื่องบินที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
  7. A350-1000 ประหยัดเชื้อเพลิงกว่า Boeing 777-300ER ถึง 20 ตัน ในระยะทางบินที่เท่ากัน
  8. การออกแบบคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้โดยสารในชั้นประหยัด มีการจัดเรียงที่นั่ง 9 ที่นั่งต่อแถว ด้วยที่นั่งที่มีความกว้างถึง 18 นิ้ว และมีความกว้างของลำตัวเครื่องบินทั้งหมด 221 นิ้ว (5.61เมตร) และยังได้ออกแบบช่องเก็บสัมภาระเหนือศรีษะแบบใหม่ ที่มีความจุมากขึ้น โดยสารมารถบรรจุกระเป๋าล้อลากขนาดมาตรฐานได้ถึง5 ใบ ต่อ 1 ช่อง ทำให้ผู้โดยสารนำสัมภาระ ติดตัวขึ้นเครื่องได้ 2 ชิ้นต่อผู้โดยสาร 1 คน
  9. ระบบส่องสว่างในห้องโดยสารเป็นแบบ LED ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนแสงไฟได้ถึง 16.7 ล้านสี และยังสามารถจำลองบรรยากาศในห้องโดยสารให้เหมือนกับช่วงเวลาต่างๆ
  10. ระบบ In-flight Entertainment (IFE) เป็นversion4 ประกอบด้วยจอภาพแบบ Wide Sceen ที่แสดงผลแบบ HD ให้ภาพเสียงคมชัดมากขึ้น

มาร้จักส่วนประกอบของเครื่องบินกัน


Aircraft Structure / ส่วนประกอบต่้างๆของเครื่องบิน



            






ส่วนประกอบหลักๆของเครื่องบินที่จะทำให้มันบินได้ก็ต้องมี

1. Wing  หรือ ปีก
2. Fuselage  หรือ ลำตัวของเครื่องบิน
3. Empennage  หรือ ส่วนหางทั้งหมดของเครื่องบิน


มาดูกันที่ Wing หรือ ปีก ทำให้เกิดเเรงยก หรือ แรง LIFT ทำให้เครื่องบินลอยขึ้นไปและบินอยู่บนฟ้าได้
ในปีกก็จะมีตัวช่วยมากมายในการบิน เช่น

1.  Flaps  ทำหน้าที่เพิ่มแรงยกให้กับปีกในกรณีที่ความเร็วลดลง
2.  Port/Starboard หรือ Left/Right Ailerons  ทำหน้าที่ แก้เอียง ใช้บังคับให้เครื่องบินเอียงซ้ายขวา
3.  Slats  ทำหน้าที่ ตัดลมวนเมื่อเครื่องบินอยู่ด้วยความเร็วต่ำ
4.  Spoilers/Air break  ทำหน้าที่ตัดแรงยกหรือลดความเร็วของเครื่องบิน
5.  Engine/propeller  ทำหน้าที่สร้างแรง TRUST ทำให้เครื่องบินไปข้างหน้า (Propeller = ใบพัด)
7.  Winglet/Wingtip  ทำหน้าที่ช่วยลดแรงDRAG หรือแรงฉุด ดึงเครื่องบิน ซึ่งจะทำให้เครื่องบินประหยัดน้ำมันมากขึ้น




Fuselage

 หรือบางคนเรียกว่า Body ซึ่งก็คือลำตัวของเครื่องบินนั้นเอง ซึ่งเป็นที่อยู่ของ กัปตันที่จะขับเครื่องบินอยู่ใน Cockpit และผู้โดยสารและลูกเรือจะอยู่ในCabin


 

ก่อนที่จะงงว่า Lift Trust Drag คืออะไร ต้องมาดูว่า ในขณะที่เครื่องบินกำลังบินอยู่นั้น 
จะมีแรงที่กระทำต่อเครื่องบิน 4แรงคือ GRAVITY DRAG LIFT TRUST

GRAVITY คือแรงโน้มถ่วงของโลก
DRAG คือแรงที่ฉุดหรือดึงเครื่องบิน
LIFT คือแรงยกทำให้เครื่องบินบิน
TRUST คือแรงที่ทำให้เครื่องบินไปข้างหน้า



กลับมาที่ปีกกันต่อ


      จากภาพจะเห็น Aileron เปิดอยู่

ในเวลาที่เครื่องบิน Takeoff จะเปิด Flap และ Slat เพียงเล็กน้อยเพื่อช่วยเพิ่มแรงยก ในขณะที่บินขึ้น
ในเวลาที่เครื่องบิน Landing  จะเปิด Flap และ Slat เพิ่มมากขึ้นตามความเร็วในขณะ เพื่อให้มีแรงยกในขณะที่บินความเร็วต่ำ 
และเมื่อแตะพื้น Runway เครื่องบินจะเปิด Spoilers เพื่อตัดแรงยกไม่ให้เครื่องลอยขึ้น และลดความเร็วเครื่องบิน




จากภาพจะเห็นว่า Flap และ Spoilers เปิดอยู่

การเปิด Spoilers ในขณะที่บินจะทำใ้ห้เครื่องลดความเร็วลง และเสียแรงยกทำให้เครื่องบินลดระดับลงมา



จากภาพนี้จะสังเกตเห็น Winglet ในลักษณะยื่นไปด้านหลัง ไม่ใช่แบบเป็นแผ่นขึ้นมา 
จะสามารถเห็น Winglet แบบนี้ได้ที่เครื่อง B777-300ER B777-200LR



สุดท้ายคือ Empennage คือส่วนหางทั้งหมด มี Rudder สำหรับใช้บังคับทิศทางให้เครื่องบินหันซ้ายหันขวา และ Elevator สำหรับบังคับให้เครื่องบินก้มและเงย



Creditเนื้อหาจาก  http://www.hflight.net/forum/v-print/m-1244709906/
Credit ภาพจาก http://www.airliners.net